สถิติ
เปิดเมื่อ29/06/2011
อัพเดท1/05/2013
ผู้เข้าชม57049
แสดงหน้า68390
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




ไตรโคเดอร์ม่า ... เชื้อราสารพัดประโยชน์

6/07/2011 11:56 เมื่อ 6/07/2011 อ่าน 2258 | ตอบ 0
สวัสดีครับพี่น้องชาวเกษตรกรทุกท่านวันนี้ผมมีสิ่งดีๆมามอบให้ท่านผมได้ไปพบบทความที่เห็นว่าคงมีประโยชน์กับชาวเกษตรกรอย่างมาก ลองอ่านดูนะครับ
สมเจตน์ไผ่ดำ


ไตรโคเดอร์ม่า ... เชื้อราสารพัดประโยชน์ 
วันที่ : 07 มิ.ย. 2554, 8:03:29 น.
หมวดหมู่ : คุณค่าน่ารู้เกี่ยวกับจุลินทรีย์ กลุ่ม : จุลินทรีย์
 
    สวัสดีครับ พี่น้องเกษตรกรไทย รวมทั้งผู้ที่สนใจในอาชีพกสิกรรมทุกท่าน เนื่องจากช่วงนี้สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยเพราะเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ ด้วยความปรารถนาดีจากชมรมเกษตรปลอดสารพิษครับ ช่วงหน้าฝนปริมาณน้ำจะเพิ่มมากขึ้น โรคที่จะมากับหน้าฝนมีอยู่ด้วยกันหลายโรค โรคที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อเกษตรกรเป็นอย่างมากอีกโรคหนึ่ง คือ โรครากเน่าโคนเน่า แต่ไม่ต้องกังวลกับปัญหานี้อีกต่อไปครับ เพราะวันนี้มีเรื่องราวของเชื้อราที่ชื่อว่า “ ไตรโคเดอร์ม่า ” มาฝากกันครับ แล้วเจ้าเชื้อราชนิดนี้มีคุณสมบัติและลักษณะ รวมถึงสามารถช่วยเหลือพวกเราได้อย่างไร มาทำความรู้จักกันเลยนะครับ

   “ ไตรโคเดอร์ม่า ” เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในจำพวกของเชื้อราชั้นสูง เส้นใยมีผนังกั้นแบ่ง ซึ่งมีความสามารถในการควบคุมและกำจัดโรคของพืชที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราได้ อย่างกว้างขวาง ทั้งพืชไร่ ไม้ผล พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด ทั้งเชื้อราที่เป็นเชื้อราชั้นสูงและชั้นต่ำ ในประเทศไทยได้มีการศึกษาค้นคว้าประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเป็น เวลานาน โดยเฉพาะเพื่อควบคุม โรคเมล็ดเน่า โรคเน่าระดับดิน โรคกล้าไหม้ โรครากเน่า โรคโคนเน่า บนพืชหลายชนิด เช่น มะเขือเทศ ถั่วเหลือง พริก ฝ้าย ข้าวบาร์เลย์ ส้ม ทุเรียน พบว่ามีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคต่าง ๆ ดังกล่าวได้ดี ไตรโคเดอร์ม่าสามารถควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในดิน เช่น เชื้อราพิเทียม (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า) เชื้อราไฟทอฟเธอรา (โรคโคนเน่า) เชื้อราฟิวซาเรียม (โรคเหี่ยว) เชื้อราสเคลอโรเทียม (โรคโคนเน่า เหี่ยว) เชื้อราไรซ็อคโทเนีย (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า) สำหรับรูปแบบหรือวิธีการของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าในการควบคุมเชื้อราโรคพืช คือ
     1. แข่งขันกับเชื้อราโรคพืชในด้านแหล่งของที่อยู่อาศัย อาหาร อากาศ และปัจจัยอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต
      2. เจ้าไตรโคเดอร์ม่าเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพสูงมากชนิดหนึ่ง ข้อจำกัดและข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช มีข้อจำกัดดังต่อไปนี้      
      1. pH ของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไตรโคเดอร์ม่า อยู่ระหว่าง 5.5 - 6.5 คือเป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งเป็นช่วง pH ที่พืชปลูกส่วนใหญ่ เจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน จำเป็นต้องมีการวัด pH ของดิน และปรับให้เหมาะสมก่อน
       2. เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเป็นเชื้อราชั้นสูง จึงถูกทำลายได้ด้วยสารเคมีที่ใช้ในการป้องกัน และกำจัดเชื้อราชั้นสูงโดยเฉพาะสารเคมีในกลุ่มเบนซิมิดาโซล (benzimidazole) ได้แก่ เบนโนมิล (benomyl) และคาร์เบนดาซิม (carbendazim) ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีชนิดดูดซึม หากจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมี ควรจะทิ้งช่วงประมาณ 2 สัปดาห์เป็นอย่างต่ำ
        3. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง คือต้นฝน และปลายฝน ห่างกัน 6 เดือน เพราะถ้าอาหาร สภาพแวดล้อม และปัจจัย อื่น ๆ ในดินไม่เหมาะสม เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะหยุดการเจริญเติบโต วิธีการใช้ แนะนำให้ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา 1 กก. ภูไมท์ซัลเฟต 1-2 กระสอบ หรือ 20-40 กก. ผสมด้วย ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 50 กก. คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วนำไปปรับสภาพในแปลงเพาะปลูกหรือหว่านรองก้นหลุม หรือใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า 100 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร แล้วฉีดพ่นให้ทั่วแปลงหรือทั่วทั้งต้นจนชุ่มโชก สะดวกวิธีการไหนก็เลือกใช้กันนะครับหรือว่าจะใช้ทั้ง 2 วิธีก็ไม่ว่ากัน วิธีการป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไขใช่ไหมครับ หากเกษตรกรท่านใดที่สนใจผลิตภัณฑ์ของทางชมรมฯ หรือต้องการข้อมูลและคำแนะนำเพิ่มเติม หรือต้องการคำปรึกษา
   สามารถติดต่อได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 0-2986-1680-2 หรือติดต่อมายังที่ผู้เขียนโดยตรงที่ โทร. 084-6447342 ยินดีให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจทุกท่านครับ

เขียนและรายงานโดย
นายสัจจกานต์ หาญนวกิจ (นักวิชาการ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เสนอแนะติชม email : [email protected]
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ขอขอบคุณทุกท่านที่เยี่ยมชมครับ หากท่านต้องการติชม ขอเชิญที่เว็บบอร์ดครับ (สวนเจตน์ไผ่ดำ 0840726279)